Raspberrypi4 and IMU MPU9250 Interfacing ด้วย ROS

Raspberrypi4 with MPU9250 Interfacing with ROS (การเชื่อมต่อ IMU MPU9250 กับ Raspberry Pi ด้วย ROS )

ในการทำหุ่นยนต์ ROS ที่สามารถทำ SLAM (Simultaneous Localization And Mapping) ได้นั้น สิ่งสำคัญเลยคือการคำนวณ Odometry การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ว่าหุ่นยนต์มีการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ไปอย่างไร แล้วนำไปใช้ในการสร้างแผนที่ การได้มาซึ่ง Odometry นั้นสามารถหาได้จาก sensor อย่าง encoder ของล้อของหุ่นยนต์ เป็นต้น แต่ในหุ่นยนต์ที่ต้องการข้อมูลของ odometry ที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยลง ก็จำเป็นต้องหาข้อมูลจาก sensor อื่นมาชวยกันชดเชย error ให้น้อยลงไป โดยนำมา fusion กัน ตัว sensor ที่นิยมนำมาเพิ่มเช่น GPS, Optical flow (สำหรับ drone), LIDAR และ IMU (วัด angular velocity, acceleration, magneto) เป็นต้น

แต่ก่อนที่จะนำข้อมูลไป fusion ได้นั้น ก็ต้องหาทางดึงข้อมูลออกมาก่อน โดยหัวข้อนี้จะขอนำเสนอการดึงข้อมูลจาก IMU ที่ต่อกับ Raspberry Pi4 ออกมาผ่าน ROS กันครับ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

STEP1 : ต่อวงจรดังในรูปต่อไปนี้

                                                                                                    Raspberry PI4 with MPU9250

ในการต่อ IMU MPU9250 เข้ากับ Raspi4 นั้น จะต่อขาของ IMU เข้ากับขาของ Raspi 4 ดังนี้

IMU MPU9250 —> Raspberry Pi4

VCC  —> 5V

GND —> GND

SCL , ECL  —> SCL (GPIO3)

SDA, EDA —> SDA (GPIO2)

 

STEP2 : Raspberry Pi4 Setup

ในการส่งของมูลระหว่าง IMU กับ Raspberry Pi นั้น จะใช้พอร์ค I2C (I square C) ในการส่งข้อมูล ดังนั้นจะต้องเปิด port I2C ของ raspberry pi ให้เรียบร้อยก่อนดังนี้




STEP3 : ติดตั้ง Driver ของ MPU 9250

หลังจากต่อวงจรเสร็จเรียบร้อยและทำการตั้งค่า raspberry pi เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการติดตั้ง driver ของ MPU9250 เข้าไปใน Raspi4 ของเราโดยใช้ command

รอจนการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย จากนั้น ทำการตรวจสอบว่ามีการเชื่อมต่อ IMU เข้ากับ Raspi4 แล้วหรือยังโดยใช้ command :

จะมี address ของ MPU9250 แสดงดังในรูป โดยใน IMU ค่า address ของ MPU9250 เป็น 0x68  หากแสดงไม่ครบอาจจะเกิดจากความผิดพลาดต่างๆ ให้ลองตรวจสอบการเชื่อมต่อของสาย และการเปิด port ของ raspberry pi

                                                                                                    IMU i2c detect window
STEP4: สร้าง node สำหรับ publish ค่าของ IMU
หลังจากที่ติดตั้งไดรเวอร์และเชื่อมต่อ IMU เรียบร้อยแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องเขียนโปรแกรม สร้าง node สำหรับรับค่า IMU มา แล้ว Publish ค่าที่ได้มาจาก IMU ออกมาให้ node อื่นสามารถนำไปใช้งานได้ โดยภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมในครั้งนี้จะเป็นภาษา Python โดยใน ROS หรือระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์นั้นจะมีรูปแบบการสร้าง Node อยู่ โดยสามารถศึกษาการสร้าง ROS package และ ROS Node ได้จาก ที่นี่ และ ลิงค์นี้ ตามลำดับ ก่อน จากนั้นให้ทำการสร้าง workspace ขึ้นมาก่อน

จากนั้นทำการสร้าง package ขึ้นมา 1 package

จากนั้นทำการ build ตัว package ด้วย command

เข้าไปที่ folder src ใน package imu_test แล้วสร้างไฟล์ imu.py

แล้วนำโค้ดต่อไปนี้ใส่ลงไปในไฟล์ imu.py

จากนั้นให้ทำการใส่ permission ให้ไฟล์ imu.py สามารถ execute ได้ และทำการ build ตัว node ที่สร้างขึ้นโดยใช้ command

 

STEP5 : ทดสอบการทำงาน

จากนั้นให้ทำการเปิดใช้งาน roscore

เปิด terminal อีก 1 terminal แล้วทดสอบการทำงานของ imu publisher node ด้วย rosrun

เมื่อรัน node ของ imu แล้วผลที่ได้ออกมาจะเป็นดังในรูปภาพดังต่อไปนี้ (ในรูปภาพผมใช้ ชื่อ package เป็น imu_9250 และชื่อไฟล์เป็น aexros_imu.py)

ros_imu

และหากตรวจสอบ topic ที่มีการใช้งานอยู่ด้วย command

จะมี topic ของ imu แสดงอยู่ด้วย ซึ่งเราสามารถสร้าง node มา subscribe ค่าของ imu จาก topic ชื่อ /imu ไปใช้ได้เลยครับผม

เมื่อได้ค่า IMU แล้วก็สามารถนำไป fusion กับข้อมูลจาก sensor ตัวอื่นได้ครับ และโชคดีที่ใน ROS มีตัว package ที่ช่วยในการทำ sensor fusion ด้วย คือ Package ที่ชื่อว่า ROS robot localization ซึ่งใช้งานได้ไม่ยาก มี filter ต่างๆ เช่น EKF (Extended Kalman Filters) ไว้ให้แล้วด้วย ลองศึกษาดูกันนะครับ ถ้ามีโอกาสผมอาจจะนำเสนอวิธีการตั้งค่าการใช้งาน package ดังกล่าวครับ แต่วันนี้ขอลาไปก่อนนะครับผม

ปล. หากต้องการติดตั้ง Ubuntu Mate 18.04 บน Raspberrypi4 สามารถอ่านได้ที่นี่



ใส่ความเห็น