How to install Ubuntu Mate 18.04 on Raspberry Pi4 with Raspi-config
ภายหลังจากที่ได้มีการปล่อย Raspberry Pi4 single board computer ออกมาแล้ว ทางผู้เขียนเองก็ได้ลองใช้งานอยู่พักหนึ่ง ซึ่งงานหลักจะเป็นการใช้ในงานด้านหุ่นยนต์และต้องใช้ Robot Operating System (ROS) ใน version ROS Melodic ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับ Ubuntu 18.04 แต่ว่าเมื่อได้ลองติดตั้ง ubuntu server 18.04 แล้วติดตั้ง ubuntu mate 18.04 desktop เข้าไปก็ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งาน เนื่องจากเจ้า raspi-config ใช้การไม่ได้ซะอย่างนั้น ทำให้หันไปใช้ Debian buster มาสักพักแต่ก็ต้องพบกับความยากลำบากในการ compile package ของ ROS อย่างมาก
แต่ในที่สุด ทางออกก็ส่องแสงออกมา ทำให้พบกับการติดตั้ง ubuntu mate 18.04 desktop บน Raspi4 และใช้งาน Raspi -config ได้แล้ว และกลับมาใช้งาน ROS ได้สะดวกอีกครั้ง จึงอยากนำมาแชร์ให้ทุกๆท่านกันครับ โดยขั้นตอนการติดตั้ง Ubuntu Mate 18.04 บน Raspi4 จะมีดังต่อไปนี้
- จากการทดสอบในปัจจุบันพบว่า Ubuntu mate 18.04 ที่มีให้ download แบบ official ยังไม่ support กับ Raspi4 ได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการติดตั้ง Ubuntu mate 18.04 desktop จะทำการติดตั้งผ่านการ upgrade ubuntu server 18.04 ให้มี ubuntu mate desktop แทน แต่จะยังไม่มีเมนู Raspi Config (เช็คได้จาก command ดังต่อไปนี้)
sudo raspi-config
ทำให้ต้องทำการ update firmware เข้า real onboard firmware ของ Raspi4 ก่อน และขั้นตอนนี้จะต้องทำในระบบปฏิบัติการ Raspbian ก่อน แล้วจึงค่อยทำการติดตั้ง ubuntu server ลงไปภายหลัง
- ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปใน Raspi4 นั้น จะต้องทำการเขียน image file ของระบบปฏิบัติการลงใน memory card ก่อนโดยเครื่องมือที่จะใช้มีชื่อว่า Raspberry Pi Imager ให้ทำการ Download และติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวให้เรียบร้อย
- เสียบ SD card เข้ากับเครื่อง computer PC แล้วกดที่ Choose OS เลือกเป็น Raspberry Pi OS (32-bit) จากนั้นเลือก SD Card ที่จะทำการเขียนไฟล์แล้วกด Write เพื่อเริ่มต้นเขียนไฟล OS ลง memory card
4.เมื่อเสร็จเรียบร้อย ให้นำ memory card ไปเสียบเข้ากับ Raspi4 แล้วทำการเปิดเครื่อง ต่อ power supply , จอภาพ, เมาส์ และคีย์บอร์ดให้เรียบร้อย จากนั้นเมื่อเข้าสู่หน้า desktop ของ Raspbian ให้ทำการเปิด terminal ขึ้นมา (ปุ่มเปิด terminalจะอยู่บริเวณซ้ายบน) แล้วพิมพ์ command ดังต่อไปนี้เพื่ออัพเดต
firmware ของ Raspi4
sudo apt-get update && sudo apt-get dist-upgrade -y
sudo rpi-update
5.หลังจากนั้น ให้นำ memory card ออกจาก Raspi4 เพื่อนำไปติดตั้ง Ubuntu Server 18.04 โดยทำตามขั้นตอนเดียวกับในการติดตั้ง Raspbian แต่เปลี่ยนตรงส่วนของ Choose OS เป็น Custom OS แล้วทำการ browse ไปที่ image file ของ ubuntu server ที่มีการปรับแต่งให้ใช้งาน Raspi-Config ได้ โดยสามารถ download ได้จาก ที่นี่
ที่มาของ OS ดีๆจาก : https://github.com/TheRemote/Ubuntu-Server-raspi4-unofficial/releases
6. เมื่อทำการ write memory card เสร็จแล้วให้นำกลับไปใส่ใน Raspi4 ตามเดิมแล้วทำการ boot ขึ้นมา จะเห็นหน้าจอที่มี command line ให้เราทำการ log in โดยในครั้งแรก username และ password สำหรับการ login จะเป็น
username : ubuntu
password : ubuntu
ให้ทำการ login เข้าไปก่อน แล้วระบบจะถามให้ทำการเปลี่ยน password เป็นของตัวเอง
7.เชื่อมต่อ internet ด้วยสาย Ethernet Cable เพื่อทำการ update และติดตั้ง ubuntu mate desktop หรือหากใช้ wifi จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน ubuntu netplan โดยใช้ command ดังนี้
sudo nano /etc/netplan/50-cloud-init.yaml
ทำการแก้ไฟล์ด้านในเป็นดังต่อไปนี้
# Change Wifi name and Password to your wifiname network: ethernets: eth0: dhcp4: true
optional: trueversion: 2 wifis: wlan0:
dhcp4: true
optional: true access-points: "Wifi name": password: "Password"
* ต้องพิมพ์ด้วยย่อหน้าที่ถูกต้อง
ทำการ save แล้วออกมา จากนั้นทำการ apply command
sudo netplan generate
sudo netplan apply
ทำการ restart 1 ครั้งก็จะสามารถเชื่อมต่อกับ Wifi ได้ และสามารถเช็คการเชื่อมต่อ wifi ได้จาก command
ifconfig
หากมีการเชื่อมต่อ wifi แล้ว จะมี IP ของ Raspberry pi ขึ้นที่ wlan0 จากนั้นทำการติดตั้ง ubuntu mate desktop ด้วย command
sudo apt-get update && sudo apt-get dist-upgrade -y && sudo apt-get install ubuntu-mate-desktop -y
รอจนการติดตั้งสำเร็จแล้ว restart เครื่องหนึ่งครั้งด้วย command
sudo shutdown -r now
เมื่อรีสตาร์ทเครื่องขึ้นมาจะปรากฎ desktop ของ ubuntu mate ให้เราเห็น เราก็จะสามารถใช้งาน ubuntu ได้ตามปกติ จากนั้นให้ไปแก้ไขไฟล์ netplan ให้กลับเป็นดังเดิมหรือ comment ส่วนของ wifi ออกไป เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับ wifi ตัวอื่นด้วย desktop ได้
นอกจากนี้สิ่งที่ควรทำการตั้งค่าเพิ่มเติมคือ การตั้งให้ SBC ทำการ login แบบอัตโนมัติ (automatically login) ไม่ต้องใส่รหัสผ่านเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ในแต่ละครั้ง เพื่อความสะดวกในการใช้งานในกรณีที่ไม่มีจอภาพ เมาส์และคียบอร์ด
Pingback: Raspberry Pi4 and IMU MPU9250 Interfacing ด้วย ROS